What is TRIZ?
- Tanasak Pheunghua
- Jan 12, 2023
- 1 min read
Updated: Jun 1, 2023
TRIZ คืออะไร

ในบรรดาเครื่องมือ Problem Solving ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม
TRIZ เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้งานค่อนข้างยาก
โดยเฉพาะถ้าเรายังมอง TRIZ เป็นเครื่องมือที่ใช้การเดินตาม Step
กรอกข้อมูลลงไป นำขึ้นแสดง PowerPoint แล้วหวังผลลัพธ์ให้ได้เป็นไอเดียใหม่
อันนี้เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
…
หากเรามีนิยามสั้น ๆ ว่า
“Function ของเครื่องมือ TRIZ คือการทำให้คนที่ถูกฝึกนั้น สามารถสร้างไอเดียใหม่ได้อย่างเป็นระบบ”
เราเริ่มที่ เราอยากจะพัฒนาอะไรไปในทิศทางไหน
ให้สังเกตการทำงานของสมองเราว่า เราเริ่มรื้อฟื้นความรู้ที่จะแก้ปัญหานั้น หรือสร้างไอเดียใหม่ได้อย่างไร
ส่วนเครื่องมือ TRIZ จะเริ่มบอกเราว่า มีกี่ทิศทางในการพัฒนานวัตกรรม
ทบทวน Function ที่เราอยากจะพัฒนาระบบดังกล่าวว่า คืออะไรกันแน่
เราโดนความเฉื่อยเชิงจิตวิทยาครอบงำหรือเปล่า
และ TRIZ จะพาเราไปสู่ทางตันของคนทั่วไป แต่ใน TRIZ มันคือประตูแห่งไอเดียใหม่
ประตูที่ชื่อว่า “ความขัดแย้ง (หรือข้อจำกัด)” คือสิ่งที่ TRIZ พาเราไปพบ
สังเกตอีกครั้ง เมื่อเจอความขัดแย้ง เช่นลดทรัพยากรลงครึ่งหนึ่ง หรือเกิดภาวะได้อย่างเสียอย่าง เรารู้สึกอย่างไร สมองเรายังพยายามทำงานแบบไหน
ระหว่างเส้นทางการคิด นอกจากสิ่งที่มีในสมองของเราแล้ว TRIZ จะพาไปดูแหล่งความคิด ไอเดียอื่นๆ
ทั้งจากระบบเดียวกัน หรือระบบที่มี Function คล้ายกัน พาไปดูองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
เช่นอ่านสิทธิบัตร ถามผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาเป็นฐานการคิด และ TRIZ ยังแนะนำให้
ศึกษารูปแบบการใช้พลังงาน MATHCHEM และโอกาสในการปรับเปลี่ยน
การใช้ Scientific Effect และ การหาคำตอบจาก Function Oriented Search
ศึกษารูปแบบการคิดที่เคยเอาชนะความขัดแย้ง 40 Principles
การเฝ้าดูวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี
รวมถึงการวิเคราะห์ ค้นหา ทรัพยากร (Resources) ทั้งในระบบและนอกระบบ และฝึกการดัดแปลงทรัพยากรเหล่านั้น เป็นต้น
และสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงกับกระบวนการคิดในสมองของเรา ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้คนรับรู้ได้โดยง่าย
แต่ละคนที่ฝึกการคิดแบบ TRIZ จะให้ผลลัพธ์แตกต่างๆกัน
เราจะเริ่มกล้าออกไอเดียที่ใหม่ เป็นผลของการเชื่อมโยงและ Modify ทรัพยากรในกระบวนการคิด
อย่างไรก็ตามในภาคธุรกิจ
เราจำเป็นต้องฝึกบนโจทย์จริง เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและตอบโจทย์ธุรกิจพร้อมๆกัน
ผลลัพธ์ของการฝึกนอกจากพัฒนากระบวนการคิดของผู้ฝึกฝน ให้เข้าสู่โจทย์อย่างเป็นระบบแล้ว
ก็จะกล้าออกไอเดียนอกกรอบได้ เป็นไอเดียใหม่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์
ที่สามารถนำไปต่อยอด ทำต้นแบบ จดสิทธิบัตร ใช้ตอบโจทย์ลูกค้าหรือแก้ปัญหาเรื้อรัง ที่คำตอบจากกระบวนการคิดแบบเดิมอาจไม่เพียงพอ
Formal English version :