top of page
  • Writer's pictureTanasak Pheunghua

01 Resources vs. Resources

Updated: Jun 1, 2023

คำว่า Resources หรือทรัพยากรใน TRIZ (Theory of Inventive Problem Solving) นั้น ถูกนำมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่ง ในกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อคิดไอเดียใหม่ ๆ

ทรัพยากรในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ หรือ ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้น นำมาใช้เป็นปัจจัย (Input) สำหรับกระบวนการคิดไอเดีย

บางครั้งพบว่าอาจจะมีความสับสนระหว่างทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการคิดไอเดียใหม่ๆ กับ ทรัพยากรที่มนุษย์ (นำมาจากธรรมชาติหรือผลิตขึ้นมา) แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปใช้เป็นปัจจัยในการประดิษฐ์ นำไปใช้งาน สร้างเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ อุปกรณ์ต่างๆ




เมื่อปี 2020 ขณะที่ผู้เขียนได้รับคำแนะนำจาก TRIZ Master ที่ช่วยดูงานวิจัยเรื่อง Resources ในระหว่างการ Pre-Defense ว่าคนทั่วไป เมื่อคิดถึงคำว่า ทรัพยากร (Resources) ก็มักจะคิดว่า เราจะผลิตอะไร สร้างอะไรก็ควรใช้ทรัพยากรนั้นในจำนวนน้อยๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ประหยัด ซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าแก่สิ่งประดิษฐ์นั้นสูงกว่า

แล้ว Resources ในงานด้าน TRIZ นั้นควรจะมากหรือน้อย การประดิษฐ์ หรือการผลิต ฯลฯ ระบบเหล่านั้นใช้ทรัพยากรในรูปของ สสาร ขนาด พลังงาน เป็นต้น จึงจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรให้น้อยและคุ้มค่าที่สุด

ส่วน TRIZ เป็นกระบวนการคิดไอเดียใหม่ๆ เพื่อการเอาชนะความขัดแย้งของระบบเดิม ผลลัพธ์ของ TRIZ คือไอเดีย ซึ่งมีความแตกต่างกันกับกระบวนการประดิษฐ์ หรือการผลิต

กระบวนการคิดไอเดียนั้น ทรัพยากรส่วนใหญ่มาในรูปแบบของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากความทรงจำของผู้ที่กำลังคิดแก้ปัญหา ข้อมูลจากสิทธิบัตร ข้อมูลเทคโนโลยีปัจจุบัน ข้อมูลที่สังเกตเห็นจากระบบปัจจุบัน ข้อมูลจากอุตสาหกรรมอื่น

แม้อาจจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างเช่น

ในการปรุงอาหาร เราจะมองหาทรัพยากรเพื่อนำมาเป็นปัจจัยในการปรุงอาหารเช่น

· วัตถุดิบ

· สูตรการปรุงอาหาร

· อุปกรณ์ตัดแต่ง อุปกรณ์ปรุงสุก ภาชนะบรรจุ

· พลังงาน

· เวลาที่ใช่เตรียม เวลาที่ใช้ปรุงสุก

· เชฟ ฝีมือดีๆ

· ความต้องการของผู้ทานอาหาร ผู้บริโภค

ถ้าเรานำความต้องการของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง เราจะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบ กระบวนการ อุปกรณ์ ฯ เราจะพยายามมองหา และนำมาใช้อย่างเท่าที่จำเป็น ใช้อย่างคุ้มค่า

หรือบางครั้งหากเรามองหาทรัพยากรได้ไม่ครบ เช่นวัตถุดิบ เราก็อาจจะจำเป็นต้องตัดส่วนประกอบอาหารบางรายการออก หรือ ดัดแปลงใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนส่วนที่ขาดหายไป

ในกระบวนการผลิตทั่วๆไปลักษณะนี้ ปกติเราควรใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดเพื่อหวังให้บรรลุตามความต้องการครบทุกด้านมากที่สุด

แต่นั่นอาจเป็นเพราะว่า เมื่อเราคิดจะทำอาหาร เรารู้อยู่แล้วว่า วัตถุดิบหรือกระบวนการที่ต้องใช้นั้นมีอะไรบ้าง ระบบในลักษณะแบบนี้ เราจะรู้อยู่แล้วว่าต้องใช้ทรัพยากรอะไร ตรงจุดนี้ มีความแตกต่างจากระบบการคิด โดยเฉพาะเมื่อความต้องการคือ การได้ไอเดียใหม่ วิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ แต่ในขั้นตอนของกระบวนการคิดนั้น ทรัพยากรควรจะมีมากเพียงพอที่จะถูกเลือก




ลองพิจารณา หากคนที่กำลังจะคิดไอเดียใหม่ๆ นั้น

· จะใช้ข้อมูลจากความทรงจำในจำนวนน้อยๆ

· วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบปัจจุบันน้อยๆ

· เลือกที่จะไม่อ่านข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มเติม

· ยังไม่เคยอ่านสิทธิบัตรในเรื่องที่กำลังสนใจจะแก้ปัญหา

· ไม่ถามผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช้ Internet ช่วยสืบค้น

· ไม่ได้ดัดแปลงพลิกแพลงไอเดียที่เดิมมีอยู่ หรือได้มาเพิ่ม

ซึ่งจะทำให้จำนวนทรัพยากรที่จะใช้ป้อนเข้าสู่กระบวนการคิดไอเดีย ใหม่ๆนั้น มีจำนวนน้อยลงไปด้วย

แล้วจะมีความเป็นไปได้มาหรือน้อยเพียงใด เมื่อมีจำนวนของทรัพยากรที่น้อย

จะส่งผลทำให้สามารถคิดจำนวนไอเดียใหม่ที่มีความแตกต่างได้จำนวนมาก

ส่วนนี้ผู้เขียนคิดว่ามีความเป็นไปได้น้อย

ขั้นตอนในกระบวนการคิดนั้น ควรมีทรัพยากรมากเพียงพอ (หรือมากพอก่อนที่จะถูกนำไปดัดแปลงให้กลายเป็นทรัพยากรใหม่ เป็นการเพิ่มจำนวนให้มีมากขึ้นอีก) ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถหรือโอกาสในการสร้างไอเดียได้มากขึ้น สำหรับการคิดตอบโจทย์ที่มีความยากหรือมีข้อจำกัดมากขึ้น

ความแตกต่างของระบบทั่วไป กับระบบของกระบวนการคิดไอเดียนั้น นอกจากกระบวนการคิดไอเดีย จะมีผลลัพธ์เป็นคำตอบที่ไม่ทราบหน้าตาตั้งแต่แรกแล้ว ก็ยังมีความไม่รู้ว่า เราจะใช้ทรัพยากรใดมา “ส่งเข้าไป” ในกระบวนการคิด เพื่อให้คิดออกอีกด้วย เราไม่ควรตั้งเงื่อนไขว่า ทรัพยากรในการคิดนั้นจะต้องมีจำนวนน้อยๆ เพราะไอเดียใหม่ใดๆ ถึงแม้จะใช้ทรัพยากรในการคิดเป็นจำนวนมาก ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าของไอเดียนั้นเลย


Source :

ส่วนหนึ่งของงานเขียน The Resources in TRIZ Series



bottom of page