นำมาโพสต์ซ้ำ จากงานเขียนเมื่อ 2014-2016
ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนไปนั่งเรียน Design Thinking กับผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยที่นำความรู้จาก Stanford ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มของ Design Thinking เป็นต้นกำเนิด D-School (http://dschool.stanford.edu/dgift/) และไปนั่งเรียนกับสาย MIT ซึ่งเป็นชื่อหัวข้อเดียวกัน แต่เน้นไปทาง Step of Design Process เพราะเหตุที่ได้ยินคนที่ Samsung พูดถึงหลายครั้งว่า TRIZ เองมีจุดที่ควรเสริม ในเรื่องของ การหาความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้เขียนเองก็เห็นด้วย
ผู้เขียนเอง ไม่มีความสามารถที่จะบรรยาย เรื่องของ Design Thinking โดยตรง และไม่ถนัดที่จะเปรียบเทียบว่า เครื่องมือไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่มักมองที่ความแตกต่าง และหยิบข้อดีมาผสมผสานกัน บทความนี้เริ่มหยิบมุมมองหนึ่งซึ่งผู้เขียนสังเกตเห็นระหว่างไปนั่งเรียน
ผู้เขียนได้ลองเปรียบประเด็นหลักๆที่แตกต่างกันของ 2 เครื่องมือนี้นะครับ
| Design Thinking | TRIZ |
Identify Need | Empathizeเริ่มต้นด้วยความพยายามเข้าใจความต้องการของลูกค้า Who is my user | ใช้การวิเคราะห์ Function เป็นตัวหลักในการพัฒนา |
Define / Problem Formulation | ระบุ Need / Insight | ใช้ Contradiction หรือ Statement IF Then But เพื่อระบุข้อขัดแย้ง ปลายทางได้โจทย์หลัก (Key Problem) |
Idea Generation | ใช้ Brainstorming | ใช้ Algorithm / Resource / TRIZ Principles เพื่อให้ได้ไอเดียใหม่ |
Prototype | กระตุ้นให้สร้างต้นแบบ | ไม่มี |
ข้อจำกัด | ขาดความระมัดระวังเรื่องความเฉี่อยเชิงจิตวิทยา และไม่มี Guideline ในการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ | กำเนิดจากพื้นฐานวิศวกรรม ตามความเป็นจริงคือ ไม่ถนัดการแก้ปัญหาเชิงสังคม หรือกลุ่ม Non-Technical |
นอกเหนือจากการเปรียบเทียบแล้ว ผู้เขียนเห็นการตั้ง Statement ในการกระบวนการออกแบบ (MIT; Design Process) ที่ใช้ If Then But เหมือนกันกับ TRIZ
ตัวอย่าง น้ำดื่มบรรจุขวดที่ลดปริมาณPlastic ที่ใช้ ทำให้ขวดบางลง เกิดความขัดแย้ง (Contradiction) ดังนี้
If = ทำให้ขวดบางลง
Then = ประหยัดการใช้ทรัพยากร (ให้ด้านที่เป็นผลดีของพารามิเตอร์ที่ต้องการปรับปรุง)
But = ความแข็งแรงลดลง (เป็นข้อด้อยของพารามิเตอร์)
และผมยังพบอีก 2 Statement ที่น่าสนใจ
TRIZ | DT : Design Process (1) | DT : Design Process (2) |
If | If | If |
Then | Then | Then |
But | Surprisingly | Because |
Key Problem ในรูปแบบของ TRIZ จะมีโอกาสเปลี่ยนไปอีกสองแบบ ตัวอย่างเช่น
จากเดิม Key Problem = ต้องการขวดที่บาง แต่ยังคงแข็งแรง
Key Problem (Surprisingly) = ต้องการขวดที่บางมากๆ และแข็งแรงเท่ากระจกหนาๆ
Key Problem (Because) = ต้องการขวดที่บางมาก เหตุผลเดียวคือ ลดต้องการต้นทุน
ถึงตรงนี้คงต้องย้ำกันอีกครั้ง ไอเดียใหม่ นวัตกรรมใหม่ๆ สำคัญที่การตั้งโจทย์นะครับ
Kommentarer