TRIZ มีเครื่องมือกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในการสร้างสรรค์ไอเดีย และคาดการณ์อนาคตของผลิตภัณฑ์และ System ที่กำเนิดโดยฝีมือมนุษย์ ชื่อว่า Law of Technological Evolution (Trends of Engineering System Evolution; TESE) เรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยี เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ ”เข้าถึงได้ง่าย”
ทฤษฎีวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีมีเนื้อหาหลากหลาย เพราะได้รับการพัฒนามาต่อเนื่อง แต่หากย้อนกลับไปใน TRIZ แบบฉบับดั้งเดิมน่าจะมีอยู่
1. Law of System Completeness
รูปภาพที่ 1 Law of System Completeness
2. Law of Energy Conductivity in system
3. Law of Harmonization
4. Law of Increasing Ideality of technical systems
5. Law of Irregularity of System's Parts Evolution
6. Law of Transition to the Super-System
รูปภาพที่ 2 Law of Transition to the Super-System
7. Law of Transition From Macro- to the Micro-Level
8. Law of Increasing the Degree of Substance-Field Interactions
9. Law of Dynamics Growth
รูปภาพที่ 3 Law of Dynamics Growth
แต่เดิมการสอนจะดูเหมือนง่ายเช่น
· ผมยกดินสอขึ้นมาเป็นตัวอย่างและถามนักเรียน ให้ลองใช้ Laws of Dynamics Growth
· นักเรียนจะตอบว่า ดินสอที่งอได้ ม้วนได้ ซักพักจะมีคนตอบว่า ปากกา และปากกาอิเล็กทรอนิคส์
· Solid > One Joint > A Lot of Joints > Flexible Material > Liquid > Field
ท่านผู้อ่านท่านใดดูออกบ้างว่า คำว่า “ดูเหมือนง่าย” แต่เกิด ข้อดี และ ข้อเสียอย่างไรในการใช้ TESE ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นต้องคล้อยตามผู้เขียนนะครับ
ข้อดีคือการที่เรามี Guideline ในการคิดที่พาเราไป “เร็ว” เช่น ใบปัดน้ำฝน จะกลายเป็นคลื่น (ปัจจุบันเข้าใจว่ามีแล้ว) หรือ สบู่ > สบู่เหลว > สบู่ที่ใช้พลังงาน MATHCHEM (IB) เช่น จงเติมคำในช่องว่าง หากเราเปลี่ยนพลังงานในการใช้สบู่
Mechanic | |
Acoustic | |
Thermal | |
Chemical | |
Electric | |
Electro Magnetic / Magnetic | |
Intermolecular | |
Bio | |
ผู้อ่านที่เริ่มคิดตาม ไม่ว่าได้คำตอบหรือไม่จะพบว่า เรามีแนวโน้มจะสร้างไอเดียได้เร็ว
ข้อเสียมีนิดเดียวคือ ผู้เรียนมักละเลยวัตถุประสงค์หลักของ TRIZ คือการเอาชนะความเฉื่อยเชิงจิตวิทยา การพยายามไม่ใช้การคิดแบบปกติหรือ Trial & Error และพยายามที่จะใช้การคิดที่จะมองหาความขัดแย้งและเอาชนะความขัดแย้งดังกล่าว โดยผ่านการวิเคราะห์ Function มาก่อน
ผมมีประสบการณ์ทั้งกับตัวเองและนักเรียนคือ การใช้ TESE มักพบว่า การคิดจะเร็ว แต่ย้อนอดีต ได้ของเก่า ไม่รู้ตัวนะครับ
เขียนมาตั้งยาว ยังไม่เข้าวัตถุประสงค์ ณ ที่นี้ ผมยังไม่ขออธิบายในแต่ละข้อของ TESE เพราะมีเจตนาจะแนะนำเครื่องมือดีๆอีกชิ้นหนึ่งครับ
ช่วงปี 1996 – 2003 Nikolay Shpakovsky ซึ่งร่วมงานกับ Samsung ได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาหน้าจอผลิตภัณฑ์ ผู้อ่านลองSearch ใน Google โดยใช้ชื่อ (Technology Evolution Display + Shpakovsky) น่าจะหาเจอครับ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้ TESE ในการพัฒนา ในเอกสารดังกล่าวมีรูปภาพอยู่รูปหนึ่ง คือ Evolution Tree
รูปภาพที่ 4 Evolution Tree
ปัจจุบัน Nikolay Shpakovsky ได้เผยแพร่ภาพเดียวกันที่ปรับแต่งให้ดูดีกว่าเดิม ผู้อ่านตามหาได้ใน Facebook ของผมนะครับ
ผู้เขียนเองไม่เคยทราบข้อดีของเครื่องมือนี้มาก่อน จนกระทั่งเมื่อเดือนที่ผ่านมาในงาน MyTRIZ 2014 ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้รู้หลายท่าน หนึ่งในนั้นคือ Ms. Song (TRIZ Master) สุภาพสตรีหนึ่งเดียวจากเกาหลีใต้ ผู้ดูแลงานด้านการสร้างนวัตกรรมของ Samsung ได้เล่าให้ฟังว่า ได้นำรูปนี้ใช้ในการกระตุ้นไอเดีย โดยเธอกล่าวว่า การเรียนรู้ของคนมีความสามารถต่างกัน แต่การใช้รูปภาพเป็นวิธีง่ายที่สุด โดยมีการติดภาพดังกล่าวไว้ตามโต๊ะ หรือที่ประชุม ทุกเช้า เจ้าหน้าที่งานวิจัย วิศวกรที่ทำงานร่วมกัน จะต้องมาตอบว่า มีไอเดียอะไรใหม่ๆ ตามหลักการของ TESE บ้าง
ผู้เขียนเองอาจไม่ได้ระวังเรื่องความสามารถหรือความถนัดในการเรียนรู้เครื่องมือดังกล่าว แต่หากวัดกันที่ความเร็วและง่ายแล้ว รูปภาพย่อมเป็นเครื่องมือที่ดี และควรนำไปลอง ฝึกฝน ปฏิบัติ ก่อนที่จะเชื่อครับ
Source :
TRIZ Article by Tanasak (Y2014)
Comentarios