ครั้งที่แล้ว ผมเขียนเกี่ยวกับ Patent Searching ซึ่งอยู่ในกลุ่มของการค้นข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการ “คิด” ผมมักพูดเล่นๆเสมอว่า ภาษาไทยคำว่า “คิดค้น” น่าจะเขียนผิด ที่ควรจะเป็นน่าจะเขียนคำว่า “ค้นคิด” (ย้ำนะครับ ผมคิดและพูดเล่นๆ) เพราะเหตุจากการทำงานจะพบเสมอว่า คนที่อ่านมาก เดินทางมาก พูดคุยกับผู้รู้มาก มักจะได้ข้อมูลมามาก ตอนประมวลผล หรือ “คิด” ก็จะทำได้ดีกว่า ไม่ว่าจะคิดเชิงวิเคราะห์ หรือ คิดไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ
จังหวะที่เราศึกษา ค้นคว้า อ่านเยอะ สมองมักจะคล้อยตามตรรกะที่เราบันทึกเข้าไป พอจะมาคิดไอเดียใหม่ๆ เหมือนคนซ้อมวิ่งแบบไม่ใส่รองเท้า พอลงสนาม มีกฏบังคับให้ใส่รองเท้าก็เลยมีอาการคล้ายคนวิ่งไม่เป็น
ถ้าเป็นช่วงการทำ Problem Solving ตามระเบียบวิธี หรือตามตรรกะก็ไม่มีปัญหาครับ แต่หากต้องการสิ่งใหม่กว่าตรรกะ เราจะทำอย่างไร เราจะออกกำลังสมองอย่างไรดี
ผมขออ้างถึง 40 หลักการ สำหรับการแก้ปัญหาใน TRIZ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการช่วยคิดนะครับ
1 Segmentation | 11 Cushion in Advance | 21 Rushing Through | 31 Porous Materials |
2 Taking out | 12 Equipotentiality | 22 Blessing in Disguise | 32 Color Change |
3 Local quality | 13 The Other Way Round | 23 Feedback | 33 Homogeneity |
4 Asymmetry | 14 Spheroidality – Curvature | 24 Intermediary | 34 Discarding and Recovering |
5 Merging | 15 Dynamics | 25 Self-Service | 35 Parameter Change |
6 Universality | 16 Partial or Excessive Action | 26 Copying | 36 Phase Transition |
7 Nested Doll | 17 Another Dimension | 27 Cheap Short-Living Objects | 37 Thermal Expansion |
8 Anti-Weight | 18 Mechanical Vibration | 28 Replace Mechanical System | 38 Accelerated Oxidation |
9 Prior Counteraction | 19 Periodic Action | 29 Pneumatics and Hydraulics | 39 Inert Atmosphere |
10 Prior Action | 20 Continuity of Useful Action | 30 Flexible Membranes/Thin Films | 40 Composite Materials |
ตารางที่ 1 40 Principles ที่มา www.triz.co.uk
ในการใช้งานโดยปกติ เราอาจเปิด Contradiction Matrix หรือไม่ใช้ก็แล้วแต่ความชำนาญ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้เริ่มเรียนรู้ใช้ TRIZ ใหม่ๆ คือ มีตั้ง 40 ข้อ จำไม่ได้
อย่างไรก็ตามใน 40 ข้อมีวิธีจำง่ายๆ ที่ฝึกไปฝึกมาอาจได้หลักการเดียว หรือ เกิน 40 ข้อได้
โดยผมหยิบหลักการมาซัก 5 ข้อนะครับ ผมลืมแนะนำหลักการพิเศษของงานนี้ คือ หลักการข้อที่ 13 The Other Way Round / Do it in Reverse ครับ ชื่อไทยๆว่า กระทำกลับทาง หลักการข้อนี้มีความพิเศษในตัวมันเองและยัง “เสก” หลักการข้ออื่นได้อีกครับ
1 Segmentation ตรงข้ามกับ Merging
4 Asymmetry ตรงข้ามกับ Symmetry
15 Dynamics ตรงข้ามกับ Static
14 Spheroidality – Curvature ตรงข้ามกับ ?
33 Homogeneity ตรงข้ามกับ Composite Materials
จะสังเกตุว่าบางข้อตรงกับหลักการใน 40 Principles บางข้อไม่ตรง แต่เป็นประโยชน์นะครับ ไปลองเสกหลักการเพิ่มดูนะครับ และหากมองเฉพาะตัวหลักการ Reverse เอง ได้ถูกนำไปใช้เป็นช่องว่างในการสร้างไอเดียใหม่มากมาย ไม่ได้แต่เฉพาะใน TRIZ นะครับ
คำตอบหรือ ไอเดียทั่วไป
Reverse / Anti Solution
ชุบแข็งด้วยความร้อน ตรงข้ามกับ ชุบแข็งด้วยความเย็น
ใช้ล้อกลม ตรงข้ามกับ ใช้ล้อสี่เหลี่ยม (ไม่ตรงกันข้าม แต่ใช้ได้ครับ)
อยากทำถ่านไฟฉาย ที่พลังงานไม่มีวันหมด แต่กลัวขายไม่ได้เพราะราคาแพง และไม่มีคนซื้อซ้ำ ตรงข้ามกับ หากทำถ่านไฟฉายที่พลังงานไม่มีวันหมดสำเร็จ แจกฟรี เก็บค่าเช่ารายเดือน
ชงกาแฟโดยใช้น้ำร้อน ตรงข้ามกับ ชงกาแฟโดยใช้น้ำเย็น
ทำกำไรเยอะขึ้น จากการปรับเพิ่มราคา ตรงข้ามกับ ทำกำไรเยอะขึ้น จากการลดราคา
เตารีด รีดผ้าเรียบ ตรงข้ามกับ เตารีด รีดผ้าให้เกิด Texture ลวดลายต่างๆ
วิธีการฝึกง่ายๆคือ ทุกครั้งที่มีไอเดียอะไรใหม่ๆ ให้เพิ่มเงาของไอเดียนั้นไปอีก โดยการพยายามคิด คำตอบที่อยู่ตรงกันข้าม (Reverse) พอเราฝึกแบบนี้บ่อยๆ โดยธรรมชาติ ปริมาณ ความแตกต่างและคุณภาพของไอเดีย ก็จะเพิ่มมากขึ้นครับ
และนี่คือที่มาของคำว่า ค้นคิด ครับ
(บทความนี้ ดัดแปลงจากงานเขียนปี 2015)