top of page
  • Writer's pictureTanasak Pheunghua

Back to Basic

Updated: Jun 1, 2023



ราวปี 2007 มีบริษัทแห่งหนึ่งติดต่อมาให้ช่วยงาน พบปัญหาสีลอก

หลังจากได้พยายามแก้ปัญหามาหลายเดือน ก็วนมาเจอกัน

“คุณดูแปลกๆดี มาช่วยแก้ปัญหาให้หน่อย” ผมจำคำนั้นได้ดี


ตอนนั้น ก็ใช้เวลาแวะเข้าไปดูกระบวนการผลิตสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง

เอาเครื่องมือวัดแปลกๆ ติดตัวไป ใส่กางเกงยีนส์เสื้อยืด ในโรงงานคงคิดว่าผมเป็นผู้รับเหมา

และเนื่องจากมีความไม่รู้ในพื้นฐานวัสดุที่ใช้ทำชิ้นงานก่อนพ่นสี

เลยต้องแวะไปหาอ่านหนังสือตามห้องสมุด เหตุเพราะสมัยนั้นข้อมูลใน Internet ไม่ได้มากและเร็วเหมือนทุกวันนี้


โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาในบ้านเรา ถ้าเป็นของต่างชาติมาตั้งฐานผลิต พนักงานของเราอาจทำการผลิตโดยไม่ทราบว่าการออกแบบแต่ละกระบวนการนั้นมี Function ที่สำคัญอย่างไร ส่วนถ้าเป็นของไทยก็จำเป็นต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยี และลงสนามแข่งขันเพื่อค้าขาย การทำความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ตัวเองไม่ได้ออกแบบมา ก็มักต้องใช้เวลา


ผมใช้เวลารวม 4 สัปดาห์ สรุปสาเหตุ โดยรวบรวมจาก

· การสังเกตหน้างาน

· การวัดค่าบางอย่างในกระบวนการผลิตที่สะท้อนปัญหาสีลอก

· การเชื่อมโยงข้อมูลของเสียกับปัจจัยบางตัวในกระบวนการที่เปลี่ยนไป

· การหา Paper มายืนยันว่าที่ระบุสาเหตุไว้ “พอจะมีแวว” เพื่อขออนุญาตทดลองแก้ปัญหา

· การหาเนื้อหาข้อมูล Fundamental หลักการของการพ่นสีที่ดีมาทวนสอบกับสิ่งที่ทำอยู่


การทดลองในเมืองไทย น้อยรายนักที่จะมี Lab สำหรับทดสอบนอกสายพานการผลิตได้

ส่วนใหญ่ต้องไปทดลองในงานจริง ซึ่งก็จะกระทบการผลิตอีก


ผมส่งรายงาน 50 หน้า เป็นการวิเคราะห์สาเหตุ รวมแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จ โดยเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ และไม่ได้คิดอะไรใหม่

เพียงควบคุมบางค่า ให้อยู่ในย่านที่ควรจะเป็น

เป็นการใช้แนวทาง Back to Basic คือกลับไปทำให้ถูกต้องตามหลักการ

“สีไม่ลอก ถ้าเตรียมผิวดี”


บทสรุป

· ปัญหาทางวิศวกรรม หากใช้การระดมสมองโดยปราศจากพื้นฐานทางวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ทำให้การแก้ปัญหาไม่ถูกจุด

· การแก้ปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเวลาของปัจจัยในกระบวนการผลิต เป็นจุดอ่อนของหลายบริษัทที่มองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนั้น

· การแก้ปัญหาแบบ OFAT (One Factor at A Time) ทำให้ขาดสาระสำคัญของอิทธิพลร่วม (Interaction Effect)

· การทำงานตามหน้าที่ โดยไม่รู้ Function ของงานนั้น ทำให้ขาดการสังเกต ขาดความสามารถในการเชื่อมโยงสาเหตุ เมื่อเกิดปัญหา


การเขียนเล่าเรื่องผลงาน ประสบการณ์ที่เคยแก้ปัญหา หรือ สร้างไอเดียใหม่ รวมถึงไอเดียที่ไม่ถูกใช้งาน

แต่มีความสวยงามในกระบวนการคิด

เป็นการบอกเล่าที่ยากมาก

เพราะเป็นงานของบริษัทที่ให้ความไว้วางใจ มีความลับทางธุรกิจ


กระบวนการเขียนจึงได้ดัดแปลง โดยไม่ระบุชื่อบริษัท และจำลองชื่อผลิตภัณฑ์ กระบวนการ

เพื่อให้เห็นถึงสาระสำคัญเฉพาะในส่วนของการคิด หรือ การแก้ปัญหาเท่านั้น


ธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page