“Function Language as an Interdisciplinary Esperanto”
จากครั้งที่แล้ว ที่เกริ่นเรื่องของ FOS ไว้ว่า คำตอบของอุตสาหกรรมหนึ่งอาจอยู่ในอีกอุตสาหกรรม หากเข้าใจวิธีการมองผ่าน Function เดียวกัน ครั้งนี้จะลองอธิบายผ่านตัวอย่างและบอกกระบวนการ “สร้าง” FOS ( ในวงการส่วนใหญ่เรียก “ฟอส” )
ภาพที่ ๑ ภาพแสดง Function ที่เสมือนกัน (ที่มา Yury Danilovky; TRIZ Master)
ผู้อ่านลองคิดว่าทั้งสอง System ในภาพที่ ๑ นั้นมีความคล้ายคลึงกันของFunction อย่างไร มีวิวัฒนาการอย่างไรจากอดีตถึงปัจจุบัน การอ่านบทความนี้จะเกิดประโยชน์กับผู้อ่านมาก หากลองคิดตาม และบันทึกคำตอบแต่ละช่วงไว้
ช่วงปี ค.ศ. 2003 ผู้เขียนได้ยินคำว่า Function Base information Gathering แต่ก็ไม่เข้าใจในกุศโลบายบางอย่าง เข้าใจแต่เพียงว่าคำตอบอยู่ในอุตสาหกรรมอื่นเช่น การแก้ปัญหาในกระบวนการพ่นสีฝุ่น การเป็น “ทรัพยากร” ทางความคิดที่ทำให้ผู้เขียนมีไอเดียเก่าๆ ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ มาแลกเปลี่ยนกันเช่น การพ่นสีฝุ่นในโรงงานชิ้นส่วนรถยนตร์ กับการพ่นสีในงานวัสดุก่อสร้าง หรือบางครั้งก็อมยิ้มเมื่อไปเที่ยวชมการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ช่างคล้ายกับการปั้นล้อรถบางรุ่นจริงๆ
การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง FOS มีความยากตรงที่ผู้อ่านจะทำความเข้าใจจากภาพที่เหมือนกัน ดังตัวอย่างขั้นต้น ซึ่งเป็นการเข้าใจในชื่อของเทคโนโลยีที่เหมือนกัน ไม่ใช่เจตนาของ Function ซะทีเดียว แต่ก็ง่ายในการเริ่มต้น ถ้าหากจะถามถึงความเชื่อมโยงของ Function ที่ต่างอุตสาหกรรมและอยู่ในระดับที่ลึกลงไปบ้างอาจจะเริ่มงง เช่น การพิมพ์ฟิล์มพลาสติกสำหรับบรรจุ กับการดูแลรักษาสายพาน การเตรียมผิวงานอลูมิเนียมก่อนพ่นสีและการเตรียมอาหารก่อนทอด การวัดสภาพของน้ำมันกับการวัดสภาพของน้ำยาล้างในอุตสาหกรรมต่างๆ การออกแบบแม่พิมพ์ขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนตร์และการแก้ปัญหาของเสียในบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ
ก่อนจะเล่ากระบวนการ สร้างและใช้งาน FOS ขอยกตัวอย่างเพิ่มขึ้นอี
1. กระบวนการผลิตที่กรองฝุ่น (ใส่ในโพรงจมูก) มีบางรุ่นถูกออกแบบมาจากแนวคิดให้มีการไหลของอากาศคล้ายกับที่เกิดในไซโคลน
2. การเจาะรูเล็กๆในผ้าอ้อมสำเร็จรูป บางผู้ผลิตนำไอเดียการเจาะรูเล็กๆมาจาก เทศโนโลยีอากาศยาน
กระบวนการสร้างฐานข้อมูล FOS เพื่อนำไปใช้งานมีขั้นตอนดังนี้
1. ระบุ Main Function
2. ระบุ Abstract Function
3. ค้นหาตัวอย่างต่างๆ
4. นำมาประยุกต์
ความไม่คุ้นอยู่ตรงลำดับที่ 1 และ 2 หากเรานำโจทย์เครื่องตัดหญ้า ลำดับแรกเราจะพูดว่าตัดหญ้า หากเรามองลึกลงไปในลำดับที่สองเราอาจตอบว่า Remove Substance (ตัวอย่างไม่ถูกต้อง กรณีนี้จะกลายเป็นเครื่องถอนหญ้า) ซึ่งมีศักย์เท่ากับ Abstract Function ของ การโกนหนวด จะเห็นได้ว่า Abstract Function มีการเขียนในลักษณะของ “การกระทำ” และ “สิ่งที่ถูกกระทำ”
| Substance | Field | Information |
Move | | | |
Remove | | | |
Hold | | | |
Separate | | | |
ตารางที่ ๑ ตัวอย่างของ Abstract Function
ในตารางตัวอย่างของ การกระทำคือ Move Remove Hold Separate และยังเป็นไปได้อีกมาก เช่น Absorb, Cool, Destroy, Dry, Heat, Freeze, Heat Join. เป็นต้น
กระบวนการนำ FOS ไปใช้งานนั้นไม่สามารถดำเนินตามขั้นตอนเฉพาะลำดับที่ 1-4 ได้ หากไม่สามารถแยกแยะ System และไม่สามารถแปลง Main Function ไปเป็น Abstract Function ได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ในลำดับที่สาม จะไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ หากไม่มีการสะสมฐานข้อมูลมาก่อน เราก็ไม่ควรสุ่มหาตัวอย่างอุตสาหกรรม เพราะเราอาจเลือกใช้อุตสาหกรรมที่ล้าหลังอยู่ได้ ประเด็นคือ บุคคลหรือองค์กรที่จะใช้เทคนิค FOS ในการพัฒนานั้น ควรมีการสนับสนุนให้ค้นหาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ (Technology Monitoring / Scouting) ประเด็นในการสร้างฐานข้อมูลจะมาอธิบายอีกครั้งนะครับ
Source : TRIZ Articles by Tanasak (Y2014)
Picture : GenTRIZ